วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันสิ้นโลก 22 ธันวา 2012

1.ประกาศจากองค์การ NASA วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) วันนั้นแกนโลกของเราจะพลิกกลับขั้ว คือ ขั้วโลกเหนือจะมาอยู่ที่ขั้วโลกใต้ ช่วงเวลานั้น โลกของเราจะไม่มีสนามพลังแม่เหล็ก เพื่อป้องกันตัวเองจากสนามพลังแม่เหล็ก และ รังสีต่างๆจากอวกาศแล้ววันนั้นจะเป็นวันเดียวกับที่ ดวงอาทิตย์จะพลิกกลับขั้วเช่นกัน เพราะดวงอาทิตย์จะพลิกกลับขั้วทุกๆ 11 ปี ปีล่าสุดคือปี พ.ศ. 2544 ถ้ามาถึงวันนี้ก็ 11 ปีพอดี (2544 + 11 = 2555) ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังพลิกกลับขั้วนั้น ดวงอาทิตย์จะแผ่สนามแม่เหล็ก และรังสีความร้อนสูงมายังโลก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่โลก ไม่มีสนามแม่เหล็กป้องกันตัวเอง ผลคือ น้ำแข็งขั้วโลกละลายฉับพลัน น้ำท่วมโลกฉับพลัน ไม่มีทางหนีได้ทัน ในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)

2.ชาวมายา (ชนเผ่ามายาแห่งอเมริกากลาง) ทำปฏิทินใช้เองตั้งแต่ 1,000 ปีที่แล้ว ชนเผ่ามายานี้มีความสามารถในการคำนวนการโคจร การเกิดดับของดวงดาวอย่างไม่น่าเชื่อ คือเขาสามารถคำนวนว่า โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์โดยใช้เวลา 365 วัน ตั้งแต่ 1,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับปฏิทินที่ชาวโลกปัจจุบันใช้กัน แล้วยังสามารถคำนวนเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลได้อย่างแม่นยำมาก ชาวมายายังกำหนดวันสุดท้ายของปฏิทินของพวกเขาคือ วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) วันนั้นโลกจะถึงจุดสิ้นสุด

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติของ Photograph


ภาพที่เราเห็นส่วนใหญ่จะสร้างโดยไฟ จากนั้นมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำให้สามารถใช้กล้องถ่าย ซึ่งในการถ่ายเราจำเป็นต้องมีฟิล์มปกติ หรือ image อิเล็กทรอนิกเช่น CCD หรือ CMOS ซึ่งกล้องจะใช่เลนส์ wavelengths ซึ่งจะมองภาพของแสงโดยใช้สายตาเพื่อมองให้เห็นภาพที่ชัดเจน ซึ่งกระบวนการแล้ววิธีการเราเรียกว่า "ถ่ายภาพ" ถูกตั้งโดย Sir John Herschel ในปี 1839 หรือเขาตั้งชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "การวาดภาพด้วยแสง" ซึ่งภาพแรกทำในปี 1825 โดยสถาปนาฝรั่งเศส ถูกค้นพบโดยHeinrich Schultz (1724) โดยที่ภาพถูกทำด้วยเงินและ Darkens ใช้ในการผสมปูนขาวในการแสดงเพื่อ Light ต่อมากระบวนการนี้ได้ถูกปรับปรุงโดย Niepce และ Louis Daguerre

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หน้าที่ที่สำคัญของ GIS


หน้าที่ของ GIS


ระบบการทำงานของ GIS สามารถแบ่งการทำงานที่สำคัญได้ 3 อย่าง คือ

1. เพื่อจัดเก็บ และจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์อย่างละเอียด และมีประสิทธิภาพ


2. เพื่อแสดงสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน


3. เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับการสอบถาม วิเคราะห์ และประเมินสารสนเทศภูมิศาสตร์อย่างมีระบบและ มีประสิทธิภาพ

ความแตกต่างของ Passive กับ Active




Passive remote sensing

ในระบบ Passive จะเก็บข้อมูลได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งในระบบนี้จำเป็น ต้องมีดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานตามธรรมชาติ ซึ่งระบบ Passive ต้องอาศัยการสะท้อนพลังงานชองวัตถุบนพื้นโลกด้วยแสงอาทิตย์เสมอ ระบบ Passive ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ดีในช่วงที่ฟ้าปิด เช่นช่วงฤดูฝน ช่วงที่มีเมฆมาก และช่วงที่มีหมอกปกคลุมอยู่หนาแน่น ในระบบ Passive สามารถบันทึกข้อมูลได้ในช่วงอืนฟราเรดความร้อน ซึ่งเป็นการแผ่พลังงานความร้อน จากวัตถุบนพื้นผิวโลกในเวลากลางคืน

Active remote sensing

ระบบ Active มีแหล่งพลังงานจากการสร้างขึ้นของอุปกรณ์สำรวจในคลื่นไมโครเวฟ สามารถนำไปใช้ใน ระบบเรดาร์ โดยระบบ Active จะส่งผ่านพลังงานไปยังพื้นที่เป้าหมายและบันทึกสัญญาณการกระจัดกระจายกลับ ระบบ Active สามารถทำงานโดยไม่จำกัดด้านเวลาและสภาพภูมิอากาศเพราะว่าในระบบนี้สามารถส่งสัญญาณทะลุผ่านกลุ่มเมฆ หมอก ฝน ทำให้ระบบ Active มีข้อได้เปรียบกว่าระบบ Passive เพราะสามารถบันทึกสัญญาณได้ ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน






วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างฐานข้อมูลแต่ล่ะประเภท

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

ูฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Datdbase)


โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายประกอบด้วยประเภทของเรคคอร์ด และกลุ่มของข้อมูลของเรคคอร์ดนั้น การจัดข้อมูลอยู่ในความสัมพันธ์แบบพาเรนต์ไชล์ แต่ละสมาชิกสามารถมีความสัมพันธ์กันได้มากกว่าหนึ่ง นั่นคือสามารถมีความสัมพันธ์ของข้อมูลในแบบ N : M ตัวอย่าง กลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องวิชาโปรแกรมวิชาเอก จะประกอบด้วยข้อมูลจากเรคคอร์ดหลัก 1 ข้อมูล และข้อมูลของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิก จะเห็นว่าเรคคอร์ดหลัก คือ โปรแกรมวิชา จะมีข้อมูลของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิกคือนักศึกษา ที่เรียนในแต่ละโปรแกรมวิชา จะมีข้อมูลของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิกคือนักศึกษาที่เรียนในแต่ละโปรแกรม

ูฐานข้อมูลแบบเชิงลำดับขั้น (Hierarchical Database)

ฐานข้อมูลแบบเชิงลำดับขั้น เป็นโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ - แม่ - ลูก (Parent Child Relationship Tape : PCR Type)โครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงลำดับขั้นประกอบด้วย ประเภทของเรคคอร์ดและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ 1. ประกอบด้วยเรคคอร์ด 4 ประเภท คือ ชื่อนักศึกษา ชมรม คณะ โปรแกรมวิชา 2. ประกอบด้วยความสัมพันธ์แบบ PCR 3 ประเภท คือ ความสัมพันธ์ของนักศึกษากับชมรมและความสัมพันธ์ของนักศึกษากับคณะวิชา และความสัมพันธ์ของคณะวิชากับโปรแกรมวิชา โดยมีนักศึกษาและคณะเป็นเรคคอร์ดประเภทพ่อ - แม่ (Parent Record Type) และมีชมรมและโปรแกรมวิชาเป็นเรคคอร์ดประเภทลูก (ChildRecord Type)


ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์หรือผู้จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น ข้อดีที่ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูลชนิดนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้ 1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย 2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูล (Access Approach) 3. ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษและไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน 4. การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายโดยใช้โอเปอร์เรเตอร์ ทางคณิตศาสตร์ เช่น SELECT ไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้ (Pionter) ซึ่งยุ่งยาก

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย

GIS สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภุมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความสำคัญ และความหมาย

1.Spatial Distribution หมายถึง การกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เกิดการกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างๆ เช่น การกระจายตัวของสัตว์ป่า การกระจายตัวของชุมชน

2. Spatial Differentiation หมายถึง ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพต่างกันและพื้นที่นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นทีเช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา

3. Spatial Diffusion หมายถึง การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่ เช่น การแพร่กระจายของเชื้อโรค จากที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ที่อยู่ห่างออกไป โดยอาจอาศัยคนเป็นตัวพาหะในการแพร่กระจาย

4. Spatial Interaction หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องหรือกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณที่มีป่าใหญ่ก็จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เยอะ

5. Spatial Temporal หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาในเชิงพื้นที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศในช่วงวันที่ 1-10 มิถุนายน

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเเตกต่างของ ข้อมูล กับสารสนเทศ

ข้อมูล เป็นสิ่งที่เราศึกษาคนคว้าเเล้วป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ข้อมูล และโปรแกรมต่างๆ ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลจะต้องเก็บอย่างต่อเนื่องเเละรวดเร็ว ข้อมูลควรถูกต้องและแม่นยำ
ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
2.ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
3.ข้อมูลเสียง (Audio Data)
4. ข้อมูลภาพ (Images Data)
5.ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

สารสนเทศ จะมีควาหมายอย่างกว้างขวางและหลาหลาย สารสนเทศจะเป็นการจัดข้อมูลโดยการนำความรู้ที่ได้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศ เเนวคิดของสารสนเทศมีความหมายใกล้เคียงกับการสื่อสาร เงื่อนไขการควบคุมข้อมูล รูปแบบ คำสั้งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมายการรับรู้เเละการเเทนความหมาย

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

ระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นระบบข้อมูลเชิงพื้นที่แล้ะข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานภาระหน้าที่เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำมาใช้ประโยชน์ได้


ระบบ GIS เป็นระบบที่ประกอบด้วย วิธีการนำเข้าข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การจัดการกับข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และ การแสดงผลการวิเคราะห์ มาไว้ในระบบเดียวกันเพื่อให้การจัดการข้อมูลทีมีลักษณะเชิงพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์สารสนเทศ


1.I nternet Map Server เป็นการให้บริการข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เเละสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยเป็นอิสระจากซอฟต์แวร์ GIS และรูปแบบของไฟล์


2. Geographic Database เป็นฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะจัดเก็บไว้ใน 2 รูปแบบคือแบบ Spatial Data หรือข้อมูลเชิงพื้นที่ คือ ข้อมูลที่ทราบตำแหน่งทางพื้นดิน และแบบ Non Spatial Data หรือ ข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปเชิงพื้นที่ ได้แก่ข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ ( Associated Attributes) เช่น ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประชากร เป็นต้น


3.ArcIMS เป็นโปรแกรมแผนที่ออนไลน์ในการให้บริการข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนอินเทอร์เน็ตซึ่งสร้างโดย Environmental System Research Institute (ESRI) ในการสื่อสารระหว่างเครื่องแม่ข่าย ( Server ) กับเครื่องลูกข่าย (Clients) สามารถเปิดได้จากเว็บบราวเซอร์ โปแกรม ArcIMS เป็น GIS ตัวหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บริการแผนที่บนอินเตอร์เน็ต แผนที่ทั่วไปที่สร้างด้วยโปรแกรมเขียนเว็บไซต์อื่นๆนั้นสามารถดูหรือขยายได้บ้าง แต่เว็บไซต์ที่สร้างด้วยโปรแกรม ArcIMS นอกจากขยายได้แล้วยังสามารถบอกตำแหน่งเชิงพิกัดและยังดึงเอาข้อมูลต่างๆมาแสดงบนหน้าเว็บเพจได้ อาทิเช่น สัญลักษณ์ (Symbol) ป้ายชื่อ (Label)
ArcIMS ประกอบด้วยแผนที่เป็นชั้นๆ ที่สามารถเลือกปิดและเปิดบางชั้นได้ หรือลักษณะเฉพาะที่สามารถแสดงข้อมูลเป็นส่วนๆได้ ผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์ที่สร้างโดย ArcIMS นั้นไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมอะไรในการเปิดมากไปกว่า เว็บบราวน์เซอร์ และสามารถที่จะทำงานบนระบบจัดการที่เป็น Windows, UNIX เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานบนเครื่อง PC computer สามารถแสดงผล จัดการสอบถาม วิเคราะห์ ผสมผสานข้อมูลแผนที่ได้อัตโนมัติ