แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ูฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Datdbase)
โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายประกอบด้วยประเภทของเรคคอร์ด และกลุ่มของข้อมูลของเรคคอร์ดนั้น การจัดข้อมูลอยู่ในความสัมพันธ์แบบพาเรนต์ไชล์ แต่ละสมาชิกสามารถมีความสัมพันธ์กันได้มากกว่าหนึ่ง นั่นคือสามารถมีความสัมพันธ์ของข้อมูลในแบบ N : M ตัวอย่าง กลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องวิชาโปรแกรมวิชาเอก จะประกอบด้วยข้อมูลจากเรคคอร์ดหลัก 1 ข้อมูล และข้อมูลของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิก จะเห็นว่าเรคคอร์ดหลัก คือ โปรแกรมวิชา จะมีข้อมูลของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิกคือนักศึกษา ที่เรียนในแต่ละโปรแกรมวิชา จะมีข้อมูลของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิกคือนักศึกษาที่เรียนในแต่ละโปรแกรม
ูฐานข้อมูลแบบเชิงลำดับขั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบเชิงลำดับขั้น เป็นโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ - แม่ - ลูก (Parent Child Relationship Tape : PCR Type)โครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงลำดับขั้นประกอบด้วย ประเภทของเรคคอร์ดและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ 1. ประกอบด้วยเรคคอร์ด 4 ประเภท คือ ชื่อนักศึกษา ชมรม คณะ โปรแกรมวิชา 2. ประกอบด้วยความสัมพันธ์แบบ PCR 3 ประเภท คือ ความสัมพันธ์ของนักศึกษากับชมรมและความสัมพันธ์ของนักศึกษากับคณะวิชา และความสัมพันธ์ของคณะวิชากับโปรแกรมวิชา โดยมีนักศึกษาและคณะเป็นเรคคอร์ดประเภทพ่อ - แม่ (Parent Record Type) และมีชมรมและโปรแกรมวิชาเป็นเรคคอร์ดประเภทลูก (ChildRecord Type)
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์หรือผู้จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น ข้อดีที่ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูลชนิดนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้ 1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย 2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูล (Access Approach) 3. ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษและไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน 4. การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายโดยใช้โอเปอร์เรเตอร์ ทางคณิตศาสตร์ เช่น SELECT ไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้ (Pionter) ซึ่งยุ่งยาก
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)