วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า



อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ หรือ 307 ตารางกิโลเมตร
ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลางเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่ารกทึบ


ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่


ลักษณะภูมิอากาศ
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC



แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
กังหันน้ำ
อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษาโดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครกกระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.

ลานหินแตก
อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลกจึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิน และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ


ลานหินปุ่ม
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบาย
เหมาะแก่การนั่งพักผ่อน

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวเทียม Landsat



โครงการดาวเทียม Landsat เดิมเป็นโครงการขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(NASA)ต่อมาได้มีการโอนกิจการดาวเทียม Landsat ให้ EOSAT ซึ่งเป็นของเอกชนเพื่อดำเนินการในเชิงพาณิชย์มีระบบเก็บข้อมูลในหลายช่วงคลื่น 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ซึ่งสามารถให้ข้อมูลต่างๆดังนี้ ข้อมูลจากระบบหลายช่วงคลื่น (MSS) 1 ภาพ ครอบคลุมพื้นที่ 185 x 185 ตารางกิโลเมตรมีรายละเอียดข้อมูล 80 x 80 เมตร


ระบบเก็บข้อมูลอีกระบบหนึ่งได้รับการปรับปรุงให้ได้รายละเอียดดีกว่าระบบ mss คือระบบ Thematic mapper (TM)โดยมี 7 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ มีรายละเอียดข้อมูล 30 x 30 เมตร แต่ละแบนด์มีประโยชน์ดังนี้




  • แบนด์ 1 ความยาวคลื่น 0.45-0.52 ไมโครเมตร (สีน้ำเงิน) ใช้ในการทำแผนที่บริเวณชายฝั่งแยกความแตกต่างระหว่างดินและพืชพรรณ

  • แบนด์ 2 ความยาวคลื่น 0.52-0.60 ไมโครเมตร (สีเขียว)ใช้ประเมินความแข็งแรงของพืชแสดงการสะท้อนพลังงานสีเขียวจากพืชที่เติบโตแล้ว

  • แบนด์ 3 ความยาวคลื่น 0.63-0.69 ไมโครเมตร (สีแดง)ใช้แยะชนิดของพืชพรรณ แสดงความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟิลล์ในพืชพรรณชนิดต่างกัน

  • แบนด์ 4 ความยาวคลื่น 0.76-0.90 ไมโครเมตร(อินฟราเรดใกล้) ใช้ประเมินปริมาณของมวลชีวภาพ (biomass) และแสดงความแตกต่างของน้ำและไม่ใช่น้ำ

  • แบนด์ 5 ความยาวคลื่น 1.55-1.75 ไมโครเมตร(อินฟราเรดคลื่นสั้น)ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นของดิน และความแตกต่างระหว่างเมฆกกับหิมะ

  • แบนด์ 6 ความยาวคลื่น 10.4-12.5 ไมโครเมตร(อินฟราเรดความร้อน)ใช้ตรวจการเหี่ยวเฉาอันเนื่องจากความร้อนในพืช แสดงความแตกต่างความร้อนในบริเวณที่ต้องการศึกษา

  • แบนด์ 7 ความยาวคลื่น 2.08-2.35 ไมโครเมตร(อินฟราเรดสะท้อน)ใช้จำแนกชนิดของหินและแร่ธาตุ และตรวจความร้อนจากน้ำ

  • pan ความยาวคลื่น 0.52-0.90 ไมโครเมตร ช้ประโยช์ในด้านผังเมืองคล้ายกับรูปถ่ายทางอากาส

ความหมายเพิ่มเติมของ Classification

Classifition คือการแยกประเภทข้อมูล เป็นข้อมูลที่เก็บรวมรวมมาได้อาจมีมากหรือน้อยแล้วแต่เรื่องต่างๆที่เราศึกษา ข้อมูลแต่ล่ะประเภทนี้สามารถแยกชนิดย้อยออกไปได้อีก ทั้งนี้เพื่อต้องการศึกษาปลีกย่อยตามความต้องการ เช่น จำนวนชาวนา อาจจำแนกตามเพศ อายุ และชั้นการศึกษา การแยกประเภทข้อมูลอาจเป็นขั้นตอนที่พอเพียงสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลบางอย่างซึ่งไม่ต้องการศึกษาข้อมูลในขั้นลึกซึ้งนัก แต่สำหรับการศึกษาบางอย่างการแยกประเภทข้อมูลเป็นแค่ขั้นตอนการเตรียมงานเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

วิธีการเขียน Histogram




  1. เก็บรวบรวมข้อมูล ( ควรรวบรวมประมาณ 100 ข้อมูล)


  2. หาค่าต่ำสุด และ ค่าสูงสุด ของข้อมูลทั้งหมด


  3. หาค่าพิสัยของข้อมูล ( R - Range)


สูตร R = L - S



4. หาจำนวนชั้น ( K )



สูตร K = Square root of (n) โดย n คือจำนวนข้อมูลทั้งหมด



5. หาความกว้างช่วงชั้น ( H - Class interval)



สูตร H = R / K หรือ พิสัย / จำนวนชั้น



6. หาของเขตของชั้น ( Boundary Value)



สูตร ขีดจำกัดล่างของชั้นแรก = S - หน่วยของการวัด / 2



ขีดจำกัดบนของชั้นแรก = ชีดจำกัดล่างชั้นแรก + H



7. หาขีดจำกัดล่างและขีดจำกัดบนของชั้นถัดไป



8. หาค่ากึ่งกลางของแต่ล่ะชั้น



ค่ากึ่งกลางชั้นแรก = ผลรวมค่าขีดจำกัดชั้นแรก / 2



ค่ากึ่งกลางชั้นสอง = ผลรวมค่าขีดจำกัดชั้นสอง / 2



ทำการบันทึกข้อมูลในรูปตารางแสดงความถี่ สร้างกราฟ Histogram

Histogram


Histogram คือ กราฟแท่งแบบเฉพาะ โดยแกนตั้งจะเป็นตัวเลขแสดง ความถี่ และมีแกนนอนเป็นข้อมูลคุณสมบัติของสิ่งที่สนใจโดนเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ที่จะใช้ดูความแปลปวรนของกระบวนการโดยการสังเกตรูปร่างของ Histogram ที่สร้างขึ้นการข้อมูลที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง


วิธีการที่จะเลือกใช้ Histogram


  • เมื่อต้องการตรวจสอบความถผิดปกติ โดยดูจากการกระจายของกระบวนการ

  • เมื่อต้องการเปรียบเทียบข้อมูลกับเกณฑ์ที่กำหนด หรือค่าสูงสุด - ต่ำสุด

  • เมื่อต้องการตรวจสอบสมรรถนะของกระบวนการทำงาน ( Process capability )

  • เมื่อต้องการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ( Root Cause )

  • เมื่อต้องการติดตามการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว

  • เมื่อข้อมูลมีจำนวนมาก

Spatial filter




Spatial Filter คือ การกรองเชิงพื้นที่ เป็นอุปกรณ์แสงที่ใช้หลักของ เลนส์ฟูริเยร์ เพื่อแก้ไขโครงสร้างของลำแสงของ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เชิงพื้นที่กรองที่ใช้ทั่วไปการล้างออกจาก lasers ลบ aberration ในคานเนื่องจาก เลนส์ เกิดความบกพร่องสกปรกหรือเสียหาย หรือรูปแบบของสื่อที่ได้รับเลเซอร์นั้นเอง


Spatial Filer สามารถใช้ในการผลิตแสงเลเซอร์ที่มีเพียง โหมดแนวขวาง ของ resonator แสงเลเซอร์ของรูปแบบเช่น diffraction ในเชิงพื้นที่กรอง เลนส์ที่ใช้เน้นเเสงเนื่องจาก diffraction เป็นไฟที่ไม่มีคลื่นระนาบ ที่สมบูรณ์แบบจะไม่เน้นไปที่จุดเดียวแต่จะใช้รูปแบบของพื้นที่แสงและสีในระนาบโฟกัส